Bangpakok Hospital

LINE OFFICIAL ACCOUNT

25 มิ.ย. 2564



ทำอย่างไร ? เมื่อใกล้ชิดผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19

หลายคนกำลังเป็นกังวล และกำลังสงสัยว่าหากใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 ควรทำอย่างไร ?

กรมควบคุมโรคแบ่งผู้สัมผัสใกล้ชิดเป็น 2 ระดับ

1. ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือ ผู้ใกล้ชิดผู้ติดเชื้อ


 สัมผัสใกล้ชิดในสถานที่และเวลาเดียวกันกับ ผู้ติดเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน

- ผู้ที่อยู่บ้านเดียวกันกับผู้ป่วย

- ผู้ที่พูดคุยกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร นานเกิน 5 นาที

- ถูกผู้ป่วยไอจามรด

- อยู่ในสถานที่แออัดร่วมกับผู้ป่วยในระยะ 1 เมตร เกิน 15 นาที

2. ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ
คือ ผู้สัมผัสบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ซึ่งมีโอกาสต่ำ หรือน้อยในการรับเชื้อ

แนวทางการปฏิบัติ

ผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง (ใกล้ชิดกับผู้ติดเชื้อ) โดยไม่มีการป้องกัน

  • หยุดงานและต้องเข้ารับการตรวจหาเชื้อทันที (ควรตรวจหาเชื้อหลังสัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อ 3 – 5 วัน)
  • หากไม่พบเชื้อ ยังต้องหยุดงาน และแยกกักตัว 14 วัน
  • สังเกตอาการอย่างใกล้ชิด และวัดไข้ทุกวัน หากมีอาการผิดปกติในระบบทางเดินหายใจ ควรรีบพบแพทย์
  • สวมหน้ากาก ล้างมือ และรักษาระยะห่างเสมอ

ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ

สัมผัสบุคคลที่มีความเสี่ยงสูง ที่ยังตรวจไม่พบเชื้อ

  • ยังไม่ต้องหยุดงาน ไม่ต้องกักตัว ดำเนินชีวิตตามปกติ แต่ให้สังเกตอาการเป็นเวลา 14 วัน
  • หลีกเลี่ยงการไปที่ชุมชน หรือแออัด
  • สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลาและล้างมือเป็นประจำ
  • หากพบอาการผิดปกติของระบบทางเดินหายใจ มีให้รีบไปพบแพทย์ทันที

อย่าลืม . . การรับมือกับการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด-19 ที่ดีที่สุด เริ่มจากตัวเราเองต้องดูแล และปฏิบัติตนอย่างเคร่งครัด ทุกคนควรสวมหน้ากากอนามัย ล้างมือบ่อย ๆ และเว้นระยะห่างเสมอ ไม่ว่าจะได้รับการฉีดวัคซีนแล้วก็ตาม เนื่องจากวัคซีนช่วยป้องกันการเสียชีวิตและลดความรุนแรงของโรค  แต่โอกาสการติดเชื้อยังสามารถเกิดขึ้นได้

 ที่มา : กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข



Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.