ใกล้แค่ไหน คือ เสี่ยงสูง
ใกล้แค่ไหน คือ เสี่ยงสูง
ใคร ? คือผู้ที่มีความเสี่ยงสูง
ผู้มีความเสี่ยงสูง หมายถึง เป็นผู้ที่สัมผัสผู้ติดเชื้อ
- ได้พบกับผู้ติดเชื้อในพื้นที่ปิด อากาศไม่ถ่ายเท
- อยู่ห่างจากผู้ติดเชื้อไม่เกิน 1 เมตร นานกว่า 15 นาที โดยไม่มีการป้องกัน
- พูดคุยในระยะ 1 เมตรนานกว่า 5 นาที
- ไอ จามใส่กันโดยไม่มีการป้องกัน
วิธีการดูแลตนเอง
ต้องกักกันตัว (Quarantine) และตรวจหาเชื้อ
- ระหว่างรอผลการตรวจหรือตรวจครั้งแรกแล้วยังไม่พบเชื้อ ยังต้องกักกันตัวจนครบ 14 วัน
ผู้มีความเสี่ยงสูง ที่ต้องมีการกักกันตัว ควรปฏิบัติ ดังนี้
- การปฏิบัติตัว
1) หยุดงาน หยุดเรียน ไม่ออกไปนอกบ้าน/ที่พักอาศัย ไม่เดินทางไปที่ชุมชน/ที่สาธารณะอย่างน้อย
14 วัน นับแต่วันที่พบว่าติดเชื้อ หรือเดินทางจากพื้นที่ระบาด หรือวันสุดท้ายที่สัมผัสผู้ป่วย
2) หลีกเลี่ยงการอยู่ใกล้ชิดบุคคลอื่น โดยเฉพาะในห้องที่ใช้เครื่องปรับอากาศ หากจำเป็น ต้องสวม
หน้ากากอนามัย และอยู่ห่างกันไม่น้อยกว่า 2 เมตร ใช้เวลาไม่เกิน 5 นาทีไม่คลุกคลีกับเด็กและผู้สูงอายุในบ้านโดยเด็ดขาด
3) สังเกตอาการตัวเอง และวัดไข้ ทุกวัน หากมีไข้สูงกว่า 37.5 เซลเซียส ร่วมกับอาการผิดปกติทางผิวหนัง ไอ หรืออาการทางระบบทางเดินหายใจอื่น ๆ ให้รีบไปพบแพทย์
4) ในแต่ละวันให้รวบรวมขยะ หน้ากากอนามัยไว้ในถุง ก่อนทิ้งให้ใส่น้ำยาฟอกขาว 2 ฝา ก่อนใส่ถุงอีกชั้น ปิดปากถุงให้สนิท
5) รับประทานอาหารที่เป็นประโยชน์ ปรุงสุก สะอาด พักผ่อนให้เพียงพอ
6) หากิจกรรมผ่อนคลายเพื่อลดภาวะเครียด วางแผนว่าจะทำอะไรบ้างในช่วง 14 วัน เช่น เรียนตามกำหนดเวลา ดูภาพยนตร์ อ่านหนังสือ เล่นเกม เรียนรู้ในการทำอาหาร ทำงานช่าง งานฝีมือ
กรณีพักคนเดียว
1. ใช้ชีวิตได้ตามปกติ ทั้งที่พัก ของใช้ส่วนตัว แต่งดให้ผู้อื่นเข้ามาในที่พักในช่วงแยกกักตัว
หรือกักกันตัว เว้นแต่จำเป็น
2. ทำอาหารได้ตามปกติ หากเป็นการสั่งแบบเดลิเวอรี่ ให้ผู้ส่งอาหารวางไว้ภายนอกจ่ายเงินทางออนไลน์ให้เรียบร้อย
3. หากจำเป็นต้องซื้อของเครื่องใช้ต่างๆ ให้มีผู้จัดหามาส่งให้หรือสั่งทางออนไลน์
4. ให้จัดการซักผ้าเอง โดยไม่ต้องส่งไปข้างนอก
กรณีต้องผู้ร่วมบ้านกับผู้อื่น
1. แยกห้องนอน ห้องน้ำให้ชัดเจน ให้แยกห่างจากผู้สูงอายุ ผู้ป่วยด้วยโรคเรื้อรังให้มากที่สุด เปิดประตูหน้าต่าง เพื่อให้มีการระบายอากาศสู่ภายนอกเป็นระยะ และปิดประตูด้านที่เชื่อมต่อกับคนอื่นภายในบ้าน จะเปิดได้เมื่อจำเป็นเท่านั้น
2. จัดของใช้แยกกับผู้อื่น ทั้งผ้าเช็ดตัว เสื้อผ้า แก้วน้ำ จาน ชาม ช้อน ส้อม อุปกรณ์ทำความสะอาด มีที่คว่ำจาน ชาม แยกต่างหาก
3. เตรียมสบู่ ผงซักฟอก น้ำยาล้างจานเพื่อทำความสะอาด เพื่อใช้เฉพาะสำหรับผู้แยกกักตัว หรือกักกันตัว
4. จัดหาอาหาร เครื่องดื่ม แยกส่งให้เป็นการเฉพาะ หากต้องนำส่ง ให้ส่งไว้หน้าห้องพักและแจ้งให้ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัวออกมารับ โดยไม่พบหน้ากันได้ หรือถ้าจำเป็นต้องส่งในห้องพัก ให้ใส่หน้ากากอนามัยทั้ง 2 ฝ่าย ทั้งผู้ส่งและผู้รับ
5. การใช้ห้องน้ำ ห้องส้วม กรณีที่ไม่สามารถแยกห้องได้ ให้ผู้อื่นใช้ห้องน้ำก่อน ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัวใช้เป็นคนสุดท้าย พร้อมทำความสะอาดให้เรียบร้อย ด้วยผ้าชุบน้ำยาฟอกขาวความเข้มข้น 0.1% หรือแอลกอฮอล์ 70% หรือไฮโดรเจนเปอร์ออกไซด์ 0.5%
6. เสื้อผ้าใช้แล้ว ให้แยกตะกร้าและแยกซัก แต่หากใช้เครื่องซักผ้าอาจซักรวมกันได้ โดยให้ผู้แยกกักตัวหรือกักกันตัว นำเสื้อผ้าใช้แล้วมาใส่ในตู้ และไม่สัมผัสโดยรอบ และให้ผู้รับผิดชอบซักผ้านั้น ทำหน้าที่ใส่น้ำยาซักผ้า ตั้งค่าการซักผ้า เปิดปิดเครื่องให้เรียบร้อยส่วนการตากนั้น สามารถตากรวมได้ เมื่อรีดแล้วให้แยกให้เรียบร้อย ส่งให้ผู้ถูกกักตัวเป็นการเฉพาะ
จัดเตรียมอุปกรณ์ ของใช้ในชีวิตประจำวันที่จำเป็น ในช่วงแยกกักตัวหรือกักกันตัว
1) หน้ากากอนามัย เจลแอลกอฮอล์เทอร์โมมิเตอร์สำหรับตรวจวัดไข้
2) อาหาร (อาหารแห้ง อาหารกระป๋อง ฯลฯ) น้ำดื่ม/เครื่องดื่ม จาน ชาม ช้อน แก้วน้ำ
3) ยารักษาโรค โดยเฉพาะยาสำหรับคนที่มีโรคประจำตัว และยาสามัญประจำบ้าน เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้ไข้ ยาแก้แพ้ และยาแก้ไอ รวมถึงพวกอุปกรณ์ปฐมพยาบาลเบื้องต้น
4) สบู่ แชมพู น้ำยา/อุปกรณ์ล้างจาน ผงซักฟอก/น้ำยาซักผ้า
5) น้ำยาและอุปกรณ์ทำความสะอาดบ้าน หรือน้ำยาฆ่าเชื้อ ( เช่น น้ำยาถูพื้นหรือน้ำยาฆ่าเชื้อ สำหรับเช็ดพื้นผิว และน้ำยาอเนกประสงค์สำหรับทำความสะอาดจุดต่าง ๆ ที่สัมผัสเป็นประจำ เช่น โทรศัพท์ รีโมตคอนโทรล สวิตช์ไฟ ลูกบิดประตู ก๊อกน้ำ เคาน์เตอร์ ลิ้นชัก เป็นต้น)
6) ถุงพลาสติกสำหรับรวบรวมขยะ
7) กระดาษชำระ กระดาษทิชชู
ที่มา : กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE Official Account : https://page.line.me/947ptrfh
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw