Bangpakok Hospital

14 วิธี กักตัว 14 วัน ให้ปลอดภัยต่อทุกคน

5 ก.ค. 2564



โดยหลักแล้วการกักตัวจำเป็นจะต้องแยกห่างจากสังคมและคนใกล้ชิด อย่างไรก็ตามข้อจำกัดการใช้ชีวิตของแต่ละคนย่อมแตกต่างกัน โดยเฉพาะกับคนที่อยู่อาศัยร่วมกับอีกหลายชีวิตในบ้าน เกิดเป็นคำถามว่าแล้วแบบนี้ต้องปฏิบัติตัวอย่างไรดีจึงจะลดความเสี่ยงให้กับผู้ร่วมอาศัยและคนในครอบครัวให้ได้มากที่สุด?

สำหรับผู้ที่กังวลใจ ทางด้านกรมควบคุมโรค และ สสส. (สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ) ก็ได้มีการแนะนำวิธีการกักตัว 14 วันร่วมกับผู้อื่นเอาไว้สำหรับเป็นข้อมูลแก่ประชาชน สามารถใช้เป็นแนวทางเบื้องต้นได้เลยทันทีสำหรับผู้ที่กำลังมีเหตุต้องเฝ้าระวัง

14 วิธี กักตัว 14 วัน ให้ปลอดภัยต่อทุกคน

  1. แยกตนเองออกจากครอบครัว
  1. เว้นระยะห่างอย่างน้อย 2 เมตร
  2. สวมหน้ากากอนามัยตลอดเวลา
  3. หากไอหรือจามใช้ทิชชูหรือกระดาษชำระ แยกทิ้งให้เหมาะสม
  4. ปวดหัว/มีไข้ ทานยาพาราเซตามอล ทุก 4 – 6 ชั่วโมง
  5. หมั่นล้างมือหรือใช้เจลล้างมือทุกครั้งเมื่อสัมผัสสิ่งของต่าง ๆ
  6. ดื่มน้ำ 1.5 – 2 ลิตรต่อวัน
  7. ไม่ออกไปพบปะผู้คนในช่วงกักตัว
  8. ไม่ทานอาหารร่วมกับผู้อื่น
  9. ควรใช้ห้องน้ำหลังคนอื่น และเช็คทำความสะอาดทุกครั้งด้วยแอลกอฮอล์
  10. เปิดหน้าต่างเพื่อให้อากาศถ่ายเท
  11. พักผ่อนให้เพียงพอจะช่วยให้ร่างกายฟื้นตัวเร็วขึ้น
  12. รับประทานอาหารที่มีประโยชน์
  13. หากิจกรรมทำงานในบ้าน เพื่อความคลายความกังวล

เสี่ยงแค่ไหนจึงต้องกักตัว?

บางคนอาจกำลังสงสัยว่าแบบไหนเราจึงจะต้องกักตัว 14 วัน ทั้งนี้กรมควบคุมโรคได้มีการออกมาตรการประเมินเบื้องต้นไว้สำหรับประเมินตนเองว่าเราอยู่ในกลุ่มความเสี่ยงใด แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม ได้แก่

  • กลุ่มที่ 1 ผู้สัมผัสความเสี่ยงสูง คือผู้ที่เจอกับผู้ติดเชื้อ มีการสัมผัสใกล้ชิดกับผู้ป่วย เช่น ผู้เรียน/ผู้อาศัย/ทำงาน ในห้องเดียวกัน มีการพูดคุยกันในระยะ 1 เมตร นานกว่า 5 นาที มีแนวโน้มถูกไอจามจากผู้ติดเชื้อโดยไม่มีการป้องกัน รวมถึงอยู่ในพื้นที่ปิด ไม่มีอากาศถ่ายเทร่วมกับผู้ป่วย

 

  • กลุ่มที่ 2 ผู้สัมผัส กับ ผู้สัมผัสเสี่ยงสูง คือผู้ที่ใกล้ชิดกับผู้สัมผัสเสี่ยงสูง (กลุ่มที่ 1) เบื้องต้นถือว่ามีความเสี่ยงต่ำ

 

  • กลุ่มที่ 3 ผู้ใกล้ชิด กับ ผู้สัมผัสเสี่ยงต่ำ คือผู้ที่อยู่ใกล้ชิดผู้สัมผัสความเสี่ยงต่ำ (วงที่ 2) หรืออยู่ในสถานที่เดียวกับผู้ติดเชื้อ แต่ไม่ได้มีกิจกรรมใดๆ ร่วมกัน และไม่ได้มีการพบปะหรือสัมผัสกัน จึงจัดเป็นผู้ไม่มีความเสี่ยง

 

จากการประเมินดังกล่าว ผู้อยู่ในกลุ่มที่ 1 จำเป็นต้องพบแพทย์เพื่อทำการตรวจเชื้อทันที หากไม่พบเชื้อ ยังต้องกักตนเอง 14 วัน และสังเกตอาการอย่างใกล้ชิด หรือหากพบว่าติดเชื้อ ผู้ที่อยู่กลุ่มที่ 2 ก็จะต้องดำเนินการเช่นเดียวกันคือไปตรวจหาเชื้อ หากไม่พบก็จะต้องกักตัวเอง 14 วัน เช่นเดียวกัน

ที่มา : กรมควบคุมโรค และสำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)

ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3

Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE Official Account :  https://page.line.me/947ptrfh
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw




Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.