มารู้จักกับริดสีดวงทวาร
ริดสีดวงทวารคืออะไร
เป็นโรคที่เกิดจากเส้นเลือดดำทวารหนักหรือส่วนปลายสุดของลำไส้ใหญ่เกิดอาการบวมพองหรือยืดตัว มีอาการยื่นนูนเป็นติ่งออกมาจากทวารหนัก โดยสามารถแบ่งโรคนี้ออกได้เป็น 2 ประเภท ได้แก่
ริดสีดวงภายใน เกิดขึ้นจากเนื้อเยื่อทวารหนักที่อยู่สูงกว่าระดับหูรูดทวารหนักเกิดการโป่งพองแตกมีเลือดออก และไม่ส่งผลให้เกิดอาการเจ็บปวดใด ๆ เนื่องจากบริเวณดังกล่าวมีเส้นประสาทที่รับความรู้สึกน้อยมาก แบ่งตามความรุนแรงเป็น 4 ระยะ ได้แก่
ระยะที่ 1 ริดสีดวงยังมีขนาดเล็กอยู่ส่งผลให้มองไม่เห็น แต่มีเลือดออกเวลาถ่ายอุจจาระ
ระยะที่ 2 มีขนาดใหญ่มากขึ้นและเริ่มเป็นติ่งยื่นออกมาหากทำการเบ่งเพื่อถ่ายอุจจาระ แต่ในระยะนี้ติ่งสามารถหดกลับเข้าไปเองได้
ระยะที่ 3 เหมือนกับระยะที่ 2 แต่ในระยะนี้ผู้ป่วยต้องใช้น้วมือดันติ่งริดสีดวงกลับเข้าไป
ระยะที่ 4 ในระยะนี้ริดสีดวงจะมีขนาดใหญ่เป็นติ่งที่ยื่นออกมาแบบถาวร ไม่สามารถหดหรือดันกลับเข้าไปได้แล้ว
ริดสีดวงภายนอก เกิดบริเวณทวารหนักส่วนล่างมีอาการนูนเป็นติ่งออกจากทวารหนัก ริดสีดวงชนิดนี้สามารถสังเกตเห็นง่ายกว่าริดสีดวงภายในและมีอาการเจ็บปวดจากประสาทรับความรู้สึก
สาเหตุของริดสีดวงทวาร
มักเกิดจากแรงดันที่มีปริมาณมากขึ้นกว่าปกติในเส้นเลือดทวารหนักจนมีอาการบวม ส่วนสาเหตุที่ทำให้เกิดอาการเช่นนี้เกิดได้หลายประการ ได้แก่
การยกของหนักบ่อย ๆ
การนั่งถ่ายอุจจาระนาน การเบ่งอุจจาระแรง และการมีอาการท้องผูก
การมีเพศสัมพันธ์ทางทวารหนัก
ท้องเสียบ่อย
คนในครอบครัวเคยเป็นโรคนี้มาก่อน
ผู้ป่วยสูงอายุที่มีความเสื่อมสภาพของเนื้อเยื่อเกี่ยวพันทางทวารหนัก
รับประทานอาหารที่มีกากใยน้อยเกินไป
มีโรคประจำตัวอื่นที่เพิ่มความดันในช่องท้อง เช่น ตับแข็ง ภาวะตั้งครรภ์ โรคอ้วน เป็นต้น
การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์
อาการของริดสีดวงทวาร
มีเลือดออกขณะหรือหลังถ่ายอุจจาระ
มีติ่งหรือก้อนที่ทวารหนักอาจมีอาการคัน ปวด เจ็บ บริเวณที่เป็นริดสีดวง
นอกจากนี้ยังอาจมีอาการหน้ามืดเวียนศีรษะร่วมด้วย
การรักษาโรคริดสีดวง
โดยส่วนมากโรคริดสีดวงจะสามารถรักษาให้หายเองได้ โดยมีวิธีการปฏิบัติดังนี้
- การนั่งแช่ในน้ำอุ่นเพื่อลดการอักเสบและลดการขยายตัวของหลอดเลือดดำประมาณ 10-15 นาที โดยควรทำทั้งก่อนและหลังถ่ายอุจจาระ
- ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการรับประทานอาหารโดยการเพิ่มอาหารที่มีกากใยให้มากขึ้น และดื่มน้ำให้มากขึ้น
- การกินยาโดยผู้ป่วยสามารถกินยาลดอาการบวมของเส้นเลือดดำ หรือยาแก้ปวด
- เหน็บยาแพทย์จะสั่งยาเหน็บเพื่อรักษาให้อาการดีขึ้น
- การฉีดยาจะทำโดยการฉีดยาเข้าไปในชั้นใต้เยื่อบุ ทำให้เกิดพังผืดรัดเส้นเลือด โดยตฉีดระดับเหนือหูรูดทวารหนัก แต่แพทย์จะไม่ฉีดสารเคมีเข้าริดสีดวงโดยตรง เพราะสารเคมีอาจจะเข้าเส้นเลือดและส่งผลให้ผู้ป่วยเกิดอาการปวดท้องและแน่นหน้าอกได้
- การใช้ยางรัดเป็นวิธีสำหรับผู้ป่วยที่มีริดสีดวงภายในที่ยื่นออกมาที่มีขั่วขนาดเหมาะสมในการรัด โดยแพทย์จะใช้หนังยางรัดเพื่อทำให้หัวริดสีดวงฝ่อและหลุดออกมาเองตามธรรมชาติ
- การจี้ริดสีดวงจะทำการจี้ริดสีดวงด้วยเครื่องจี้ไฟฟ้า หรืออินฟาเรด
- การ ผ่าตัด ริดสีดวง เหมาะสำหรับผู้ที่มีอาการ ของ ริดสีดวง ระยะที่ 3 และ 4 โดยหัวริดสีดวงไม่สามารถดันกลับเข้าไปได้ รวมไปถึงผู้ที่มีอาการ ของ ริดสีดวงทวารภายนอก หัวใหญ่ เกิดการอักเสบ ทั้งนี้การผ่าตัด ริดสีดวง ไม่ได้เหมาะกับทุกคนเสมอไป ซึ่งต้องถูกพิจารณาโดยแพทย์ เพราะมีการฉีดยาชารอบรูทวาร ซึ่งค่อนข้างเจ็บ ก่อนการผ่าตัดริดสีดวง บางวิธีต้องวางยาสลบ ฉีดยาที่ไขสันหลัง เป็นต้น อีกทั้งวิธี การ ผ่าตัด ริดสีดวง ก็มีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ เช่น
2. ผ่าตัดริดสีดวง แบบเลเซอร์ : วิธี การ ผ่าตัด ริดสีดวงแบบนี้ แพทย์จะทำการเจาะเปิดแผล แล้วสอดใยแก้วนำแสงเลเซอร์ ผ่านทางทวารหนัก ลอดใต้ริดสีดวง ไปยังขั้วของเส้นเลือดที่เลี้ยงริดสีดวงอยู่ จากนั้นจะยิงเลเซอร์เข้าไป จี้เส้นเลือดบริเวณหัวริดสีดวงให้ฝ่อ และ ยุบลง ซึ่งข้อดีของการรักษาริดสีดวงวิธีนี้ คือ แผลมีขนาดเล็ก เพราะขนาดรอยเจาะขนาด 2 – 3 มิลลิเมตรเท่านั้น และ ไม่ต้องเย็บแผลหลังเลเซอร์เสร็จ
3. ผ่าตัดริดสีดวง โดยใช้เครื่องมือตัดเย็บอัตโนมัติ : เป็นวิธี การ รักษา ริดสีดวง ที่เหมาะกับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารภายใน และมีหลายหัว โดยแพทย์จะใช้เครื่องตัดเย็บอัตโนมัติ ในการผ่าตัด และ เย็บแผลไปในเวลาเดียวกัน
4. ผ่าตัดริดสีดวง แบบเย็บผูกเส้นเลือดริดสีดวง : เป็นวิธี การ รักษา ริดสีดวง ที่เหมาะกับผู้ที่เป็นริดสีดวงทวารภายนอก หรือ เป็นริดสีดวงระยะ 3 และ 4 ชนิดที่หัวไม่สามารถดันกลับเข้าไปข้างในได้ โดยวิธี การ ผ่าตัด ริดสีดวงรูปแบบนี้ จะใช้คลื่นเสียงความถี่สูง ตรวจหาตำแหน่งเส้นเลือด ที่มาเลี้ยงริดสีดวงก่อน เมื่อเจอแล้วจะทำการเย็บผูกเส้นเลือดนั้น และ เย็บรั้งหัวริดสีดวงกลับเข้าไปด้านในทวารหนัก ซึ่งริดสีดวงจะค่อย ๆ ยุบ และ ฝ่อลงไปเอง
การป้องกันตนเองจากริดสีดวง
- รับประทานอาหารที่มีกากใย เช่น ผักและผลไม้ เพื่อไม่ให้เกิดอาการท้องผูก
- ควรดื่มน้ำในปริมาณมากวันละ 8-10 แก้วเพื่อให้ขับถ่ายง่าย
- ไม่ควรเบ่งอุจจาระแรงเกินไปหากพบว่ามีเลือดออกมากควรรีบพบแพทย์
- รักษาสุขอนามัย โดยการล้างก้นด้วยน้ำสะอาดอยู่เสมอ และไม่ควรใช้กระดาษชำระที่แข็งจนเกินไปเพราะอาจจะทำให้รูทวารหนักเกิดบาดแผลได้
- หลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้น
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE Official Account : https://page.line.me/947ptrfh
YouTube : https://youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw