Bangpakok Hospital

การรักษาผู้ป่วยโควิดล่าสุด จากกระทรวงสาธารณะสุข ฉบับปรับปรุง

1 ส.ค. 2565


การรักษา COVID-19

แบ่งเป็นกลุ่มตามความรุนแรงของโรคและปัจจัยเสี่ยง

  1. ผู้ป่วยที่ไม่มีอาการ

o ให้การรักษาแบบผู้ป่วยนอก โดยแยกกักตัวที่บ้าน (Out-patient with self Isolation)

o รักษาตามอาการตามดุลยพินิจของแพทย์ ไม่ให้ยาต้านไวรัส เช่น favipiravir เนื่องจากผู้ป่วยไม่มีอาการ

o อาจพิจารณาให้ยาฟ้าทะลายโจรตามดุลยพินิจของแพทย์

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรง ไม่มีปอดอักเสบ ไม่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงปกติ

o อาจพิจารณาให้ favipiravir ควรเริ่มยาโดยเร็วที่สุด ตามดุลยพินิจของแพทย์

o หากตรวจพบเชื้อเมื่อผู้ป่วยมีอาการมาแล้วเกิน 5 วัน และผู้ป่วยไม่มีอาการหรือมีอาการน้อยอาจไม่จำเป็นต้องให้ยาต้านไวรัส
เพราะผู้ป่วยจะหายได้เองโดยไม่มีภาวะแทรกซ้อน

  1. ผู้ป่วยที่มีอาการไม่รุนแรงแต่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรงหรือมีโรคร่วมสำคัญ

ปัจจัยเสี่ยงต่อการเป็นโรครุนแรง ได้แก่

1) อายุมากกว่า 60 ปี ขึ้นไป

2) โรคปอดอุดกั้นเรื้อรัง รวมโรคปอดเรื้อรังอื่น ๆ

3) โรคไตเรื้อรัง

4) โรคหัวใจและหลอดเลือด

5) โรคหลอดเลือดสมอง

6) เบาหวานที่ควบคุมไม่ได้

7) ภาวะอ้วน

8) ตับแข็ง

9) ภาวะภูมิคุ้มกันต่ำ

10) ผู้ติดเชื้อเอชไอวี

o ให้ยาต้านไวรัสเพียง 1 ชนิด โดยควรเริ่มภายใน 5 วัน ตั้งแต่เริ่มมีอาการจึงจะได้ผลดี

ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3

Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3

LINE Official Account :  https://page.line.me/947ptrfh

Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.