ทำความรู้จักกับโรคไส้เลื่อน
ไส้เลื่อน คือ สภาวะที่ลำไส้หรืออวัยวะภายในช่องท้องหรือเนื้อเยื่อบางส่วน
เคลื่อนย้ายจากตำแหน่งเดิม ผ่านผนังท้องที่บอบบางและอ่อนแอ (ผนังหน้าท้องไม่แข็งแรง) ออกมานอกช่องท้อง จะสังเกตเห็นเป็นลักษณะก้อนๆ ตุง นูนออกมาจากท้อง ส่วนที่เคลื่อนตัวออกไปยังคงถูกห่อหุ้มด้วยเยื่อหุ้มเดิมของมัน
ตำแหน่งที่พบบ่อยเมื่อลำไส้เลื่อนออกนอกช่องท้อง ได้แก่
- ขาหนีบ (Groin Hernia)
- สะดือ (Umbilical Hernia)
- แผลผ่าตัด (Incisional Hernia)
ไส้เลื่อนสามารถมีโอกาสเป็นได้ทุกเพศทุกวัยหากแต่ผู้ชายอาจมีความเสี่ยงเป็นไส้เลื่อนมากกว่า โดยแบ่งเป็นสัดส่วนชายต่อหญิงอยู่ที่ 5 : 1
ปัจจัยเสี่ยงของการเกิดไส้เลื่อน
- แรงดันในช่องท้องที่เพิ่มขึ้นจากการยกหรือออกกำลังกาย
- แรงเบ่งจากภาวะท้องผูก แรงเบ่งขณะปัสสาวะจากโรคต่อมลูกมากโต
- ไอเรื้อรังจากการสูบบุหรี่ เป็นต้น
อาการไส้เลื่อน
อาการของโรคไส้เลื่อนนั้น แบ่งออกเป็น 2 ระดับ ได้แก่
1.ระดับปกติ
- พบก้อน ตุง นูน ก้อนตุงนูนอาจเลื่อนเข้าออกได้ ปวดหรือไม่ปวดก็ได้
2.ระดับรุนแรง
- พบอาการเหมือนในระดับปกติ
- ลำไส้อุดตันหรือการอักเสบของลำไส้และช่องท้องร่วมด้วย มักพบในกลุ่มที่ปวดและก้อนไม่เลื่อนกลับเข้าที่ ปวดท้องรุนแรง จากการที่ไส้เลื่อนติดคาคนไม่สามารถกลับเข้าช่องท้องได้หากไม่รีบรักษาอาจเกิดภาวะลำไส้ขาดเลือดจนเน่าหรือติดเชื้อในกระแสเลือด
การผ่าตัด
การผ่าตัดแบบเปิด : ใช้วิธีเปิดผนังหน้าท้องเพื่อใส่แผ่นสังเคราะห์ และ เย็นซ่อมแซมเนื้อเยื่อชั้นต่างๆ เข้าหากัน
การผ่าตัดส่องกล้อง : ใช้วิธีส่องกล้องเข้าผนังหน้าท้องเพื่อใส่แผ่นสังเคราะห์ และยึดติดด้วยอุปกรณ์พิเศษ การผ่าตัดแบบส่องกล้องจึงมีแผลเล็กกว่าการผ่าตัดแบบเปิดมาก และยังกลับไปทำงานใช้ชีวิตประจำวันได้เร็วขึ้น
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE Official Account : https://page.line.me/947ptrfh
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw