ตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง
ว่าในปัจจุบันนั้น เราสามารถเข้ารับการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมประจำปีได้ และยิ่งหากตรวจพบในระยะแรก ๆ ก็ยิ่งมีโอกาสรักษาให้หายขาดได้สูง โดยที่ไม่ต้องผ่าตัดเต้านมทิ้งหรือต้องเจอกับอาการข้างเคียงจากการรักษา แต่นอกจากการตรวจคัดกรองมะเร็งเต้านมที่สถานพยาบาลแล้ว
กลุ่มเสี่ยงมะเร็งเต้านม
โรคมะเร็งเต้านมส่วนใหญ่จะพบในหญิงที่มีอายุมาก โดยเฉพาะอายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไป มีประวัติครอบครัวเป็นมะเร็งเต้านม มะเร็งรังไข่ หรือมีประวัติเคยเป็นมะเร็งเต้านมมาก่อน หรือเคยมีก้อนบริเวณเต้านม ที่ผลการตรวจพบว่าผิดปกติ มีประจำเดือนครั้งแรก ก่อนอายุ 12 ปี หมดประจำเดือนหลังอายุ 55 ปี หรือเคยรับการฉายรังสีบริเวณทรวงอกก่อนอายุ 30 ปี รวมถึงผู้หญิงที่สูบบุหรี่จัด ดื่มสุรา ไม่ออกกำลังกาย
วิธีตรวจมะเร็งเต้านม
การตรวจเต้านมเบื้องต้นสามารถทำได้ 2 วิธีค่ะ หนึ่งคือการตรวจด้วยตัวเอง และสอง การตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์เต้านม (Mammogram) ซึ่งใครที่ยังกังวลไม่กล้าไปตรวจด้วยเครื่องเอกซเรย์ จะตรวจเช็กด้วยตัวเองเบื้องต้นก่อนก็ได้เช่นกัน
วิธีตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเอง
วิธีการเช็กมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองนั้นสามารถทำได้โดยการคลำด้วยมือ ซึ่งการคลำมี 3 แบบ จะเลือกใช้แบบใดก็ได้ แต่ต้องให้มั่นใจว่าครอบคลุมเนื้อเยื่อเต้านมทั้งหมด ทั้งขอบด้านล่างเสื้อชั้นใน บริเวณหัวนม บริเวณใต้รักแร้ และไหปลาร้า และอย่ายกนิ้วขึ้นจากเต้านมขณะคลำ
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองแบบที่ 1 : การคลำในแนวขึ้นลง
คลำจากบริเวณกระดูกไหปลาร้าจนถึงด้านล่างของทรวงอก โดยคลำจากใต้รักแร้ หรือตำแหน่งใต้แขนจนถึงฐานของเต้านม แล้วขยับนิ้วทั้งสามคลำในแนวขึ้นลง และสลับกันไปเรื่อยๆ ให้ทั่วทั้งเต้านม
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองแบบที่ 2 : การคลำแบบแนวก้นหอย
เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมบริเวณลานหัวนมไปตามแนวก้นหอย จนกระทั่งถึงฐานเต้านม ครอบคลุมถึงบริเวณรักแร้ และไหปลาร้า
การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตัวเองแบบที่ 3 : การคลำแบบแนวรูปลิ่ม
เริ่มคลำจากส่วนบนของเต้านมบริเวณลานหัวนมจนถึงฐานแล้วกลับขึ้นสู่ยอด อย่างนี้เรื่อยๆ ให้ทั่วทั้งเต้านม ครอบคลุมถึงบริเวณรักแร้ และไหปลาร้า
นอกจากนี้ ควรคลำเต้านมให้ได้ 3 ระดับ ดังนี้ กดเบา ให้รู้สึกถึงบริเวณใต้ผิวหนัง กดปานกลาง ให้รู้สึกถึงบริเวณกึ่งกลางเนื้อนม และกดหนัก ให้รู้สึกถึงเนื้อนมใกล้กระดูกอก เมื่อคลำพบก้อนที่โตระยะขนาด 2 – 5 เซนติเมตร อัตราการรอดชีวิตมีถึงร้อยละ 75 – 90 แต่หากคลำพบก้อนขนาด 5 เซนติเมตรขึ้นไป อัตราการรอดมีเพียงร้อยละ 15 – 30 เท่านั้น
ขอบคุณข้อมูลจาก :
กรมอนามัย กระทรวงสาธารณะสุข
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE Official Account : https://page.line.me/947ptrfh
Youtube : https://www.youtube.com/channel/UCrWTFEyhNwZtPo2JieYZftw