Bangpakok Hospital

มะเร็งปากมดลูก ภัยเงียบที่อันตราย

3 มี.ค. 2566

มะเร็งปากมดลูก เป็นมะเร็งชนิดเดียวทางนรีเวช ที่สามารถตรวจคัดกรองพบจะป้องกันและรักษาให้หายได้ โดยตรวจภายในเป็นประจำ และปัจจุบันยังสามารถตรวจคัดกรองมะเร็งเชิงลึกแบบ HPV DNA เพื่อหาเชื้อต้นเหตุก่อโรคของมะเร็งปากมดลูก อีกทั้งยังมี วัคซีน HPV ที่ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกันต่อเชื้อก่อโรคมะเร็งปากมดลูกอีกด้วย

ผู้หญิงทุกคนมีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งปากมดลูก ตั้งแต่เรามีเพศสัมพันธ์ครั้งแรก และเกือบ 100% ของมะเร็งปากมดลูกเกิดจากการติดเชื้อ HPV เพราะเป็นเชื้อที่ติดง่าย นอกจากเพศสัมพันธ์แล้ว ยังสามารถติดต่อทางการสัมผัสได้ด้วย (แต่จะเป็นลักษณะเหมือนพาหะที่นำพาเชื้อไปสู่ช่องคลอดได้) แต่พอติดเชื้อแล้วกลับไม่มีอาการ ไม่เจ็บ ไม่ปวด ไม่มีบาดแผลอะไรเกิดขึ้น แต่เกิดความผิดปกติระดับเซลล์ ซึ่งใช้เวลานานหลายปี ก่อนกลายเป็นมะเร็งปากมดลูก

ปัจจัยเสี่ยงที่ก่อให้เกิดมะเร็งปากมดลูก ได้แก่

  • ผู้ที่มีเพศสัมพันธ์ตั้งแต่อายุน้อย เปลี่ยนคู่นอนบ่อย หรือมีคู่นอนหลายคน
  • ผู้หญิงที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป
  • การสูบบุหรี่
  • ผู้ที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ หรือได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เช่น โรคหนองใน โรคติดเชื้อเอชไอวี โรคเอดส์ และโรคซิฟิลิส
  • ผู้ที่ไม่เคยตรวจภายในเพื่อคัดกรองมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูกมีกี่ระยะ?

ระยะของโรคมะเร็งปากมดลูก แบ่งออกเป็น ระยะก่อนมะเร็ง และระยะลุกลาม

ระยะก่อนมะเร็ง หรือระยะลุกลาม ระยะนี้เซลล์มะเร็งยังอยู่ภายใจชั้นเยื่อบุผิวปากมดลูก ไม่ลุกลามเข้าไปในเนื้อปากมดลูก ผู้ป่วยจะไม่มีอาการผิดปกติเลย แต่ตรวจพบได้ด้วยการตรวจคัดกรองทางเซลล์วิทยา หรือ ตรวจแพปสเมียร์ (Pep Smear)

ระยะลุกลาม แบ่งออกเป็น 4 ระยะย่อย คือ

  • ระยะที่ 1 มะเร็งลุกลามอยู่ภายในปากมดลูก
  • ระยะที่ 2 มะเร็งลุกลามไปที่เนื้อเยื่อข้างปากมดลูก และ (หรือ) ผนังช่องคลอดส่วนบน
  • ระยะที่ 3 มะเร็งลุกลามไปที่ด้านข้างของเชิงกราน และ (หรือ) ผนังช่องคลอดส่วนล่าง หรือกดท่อไตจนเกิดภาวะไตบวมน้ำ
  • ระยะที่ 4 มะเร็งลุกลามไปที่กระเพาะปัสสาวะ ไส้ตรง หรืออวัยวะอื่นๆ เช่น ปอด กระดูก และต่อมน้ำเหลืองนอกเชิงกราน เป็นต้น

สัญญาณเตือน อาการมะเร็งปากมดลูก

มะเร็งปากมดลูก มักไม่แสดงอาการในระยะแรก หมั่นสังเกตอาการของตนเอง

ตกขาวผิดปกติอย่างเห็นได้ชัด มีตกขาวมากกว่าปกติ หรือตกขาวมีเลือดปน

  • เลือดออกจากช่องคลอดโดยไม่ทราบสาเหตุ เลือดออกหลังมีเพศสัมพันธ์ เลือดออกหลังจากหมดประจำเดือน
  • ปวดท้องน้อย ปวดบริเวณหัวหน่าว
  • ประจำเดือนมาไม่ปกติ
  • เจ็บขณะมีเพศสัมพันธ์
  • ปัสสาวะ/อุจจาระปนเลือด
  • ปัสสาวะไม่ค่อยออก ปวดบวม
  • ปวดหลัง ขาบวม ไตวาย (กรณีที่มะเร็งมีระยะลุกลามรุนแรง)
  • น้ำหนักลดโดยไม่ทราบสาเหตุ เบื่ออาหาร อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย

มะเร็งปากมดลูก ตรวจ = ป้องกัน

หนึ่งในวิธีการป้องกันที่ดีที่สุด คือ การฉีดวัคซีนป้องกันเชื้อเอชพีวี (HPV) ซึ่งเป็นสาเหตุสำคัญของโรคมะเร็งปากมดลูก และตรวจคัดกรองมะเร็งปากมดลูกทุก 2-3 ปี สามารถตรวจคัดกรองได้โดย แพปสเมียร์ (Pap Smear) และการตรวจหาเชื้อ HPV

วัคซีนป้องกันเชื้อไวรัส HPV สามารถป้องกันการติดเชื้อได้อย่างมีประสิทธิภาพ ทั้งนี้ในการฉีดวัคซีนจะต้องฉีดทั้งหมด 3 เข็ม โดยฉีดเข้ากล้ามเนื้อ และจะต้องฉีดเข็มที่ 2 ห่างจากเข็มแรก 1-2 เดือน และเข็มที่ 3 ห่างจากเข็มแรก 6 เดือน วัคซีนนี้จะมีประสิทธิภาพสูงสุดเมื่อฉีดให้กับเด็กผู้หญิง หรือสตรีที่ยังไม่มีเพศสัมพันธ์ และหากเป็นสตรีที่มีเพศสัมพันธ์แล้ว วัคซีนจะทำงานได้อย่างมีประสิทธิภาพกับผู้ที่ยังไม่มีการติดเชื้อ HPV หรือไม่มีเซลล์ผิดปกติ

HPV Vaccine วัคซีนป้องกันมะเร็งปากมดลูก

ฉีดแล้วป้องกันเชื้อ HPV ได้ 90%

(ในผู้ที่ไม่เคยมีเพศสัมพันธ์ อายุไม่เกิน 26 ปี)

วัคซีนชนิด 2 สายพันธุ์ (Cervarix) 2 เข็ม

สำหรับเด็ก 9 – 14 ปี ราคา 5,790 บาท (จากราคาปกติ 6,000 บาท)

สำหรับอายุ 14 ปีขึ้นไป ราคา 7,490 บาท (จากราคาปกติ 8,000 บาท)

วัคซีนชนิด 4 สายพันธุ์ (Gardasil) 3 เข็ม

สำหรับเด็ก 9 – 14 ปี ราคา 8,690 บาท (จากราคาปกติ 9,000 บาท)

สำหรับอายุ 14 ปีขึ้นไป ราคา 9,990 บาท (จากราคาปกติ 11,000 บาท)

สอบถาม – นัดหมายเข้ารับบริการ

โทร. 02-109-3111 ต่อ 1124 – 1125 แผนกสูตินรีเวชกรรม

เวลาทำการ : ทุกวัน 08.00 – 19.00 น.

 

ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3

Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3

LINE O/A : https://page.line.me/947ptrfh

YouTube : https://shorturl.asia/qjUJc

TikTok : https://shorturl.asia/dP5Z0

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.