Bangpakok Hospital

โรคไตเรื้อรัง

22 มี.ค. 2566


โรคไตเรื้อรัง
คือ สภาวะที่ไตถูกทำลาย มีผลทำให้ความสามารถของไตในการทำงานลดลง เช่น การรักษาสมดุลของเหลวในร่างกาย การควบคุมน้ำและแร่ธาตุต่างๆ ในเลือด การกำจัดของเสียออกจากเลือด การกำจัดยาและพิษออกจากร่างกาย การหลั่งฮอร์โมนเข้าสู่กระแสเลือด

สาเหตุของโรคไตเรื้อรัง  

  1. จากพันธุกรรม โดยอาจเป็นมาตั้งแต่กำเนิดหรือค่อยๆ แสดงอาการในภายหลังก็ได้ เช่น โรคถุงน้ำที่ไต
  2. เกิดจากโรคอื่นที่มีผลกระทบกับไต เช่น ความดันโลหิตสูง โรคเบาหวาน เป็นต้น
  3. การทานอาหารรสจัดไม่ใช่เพียงแค่รสเค็ม รวมไปถึงหวานจัด หรือเผ็ดจัดด้วยเช่นกัน
  4. ไตอักเสบ
  5. โรคแพ้ภูมิตัวเอง
  6. นิ่ว
  7. ไวรัส , มะเร็ง

อาการของโรคไตเรื้อรัง  

ผู้ที่เริ่มมีอาการของโรคไต ในช่วงแรกแทบไม่มีสัญญาณเตือน โดยอาการมักจะปรากฏในช่วงระยะท้ายๆ เมื่อไตได้รับความเสียหายไปมากแล้ว ทั้งนี้ผู้ป่วยโรคไตมักจะมีอาการต่างๆ เหล่านี้  

  • ปัสสาวะเป็นเลือด ปกติแล้วปัสสาวะจะมีสีเหลืองอ่อนจนถึงสีเหลืองเข้ม ขึ้นอยู่กับปริมาณการดื่มน้ำในขณะนั้น แต่ถ้าพบว่าปัสสาวะมีเลือดปน อาจจะเกิดการติดเชื้อทางเดินปัสสาวะ นิ่วในทางเดินปัสสาวะ หรืออาจเกิดเนื้องอกในทางเดินปัสสาวะ เป็นต้น
  • ปัสสาวะเป็นฟอง เกิดจากการมีโปรตีนไข่ขาวรั่วออกมาในปัสสาวะ ซึ่งมักเป็นอาการของภาวะโรคไตเรื้อรัง ปัสสาวะกลางคืนบ่อยกว่าปกติ ผู้ที่ไตมีความผิดปกติ เช่น โรคไตเรื้อรัง ไตจะไม่สามารถดูดน้ำกลับเก็บในกระเพาะปัสสาวะได้ปกติ จึงทำให้ต้องปัสสาวะบ่อยกว่าปกติ  
  • มีอาการบวมของหน้าและเท้า
  • อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย ขาดสมาธิ
  • บางรายน้ำหนักลด แต่บางรายผู้ป่วยอาจจะตัวบวม น้ำหนักขึ้นก็ได้
  • ผิวหนังจะซีด คัน มีจ้ำเลือดขึ้นง่าย
  • เบื่ออาหาร คลื่นไส้
  • ปากขม ไม่สามารถรับรสอาหารได้

โรคไตเรื้อรังแบ่งออกเป็น 5 ระยะ   

ระยะที่ 1 หรือค่า eGFR มากกว่า 90% เป็นระยะที่อยู่ในระดับที่มีความเสี่ยงต่ำ

ระยะที่ 2 หรือค่า eGFR อยู่ในช่วงระยะ 60 - 89% เป็นระยะที่เราจะเริ่มประเมินและชะลอการเสื่อมของโรคไตเรื้อรัง

ระยะที่ 3 หรือค่า eGFR อยู่ในช่วงระยะ 30 - 60% เป็นระยะที่แพทย์จะเพิ่มการดูแลภาวะแทรกซ้อนของไต และต้องระวังในเรื่องของโรคหัวใจที่จะเป็นภาวะแทรกซ้อนและทำให้ผู้ป่วยโรคไตเสียชีวิตได้มาก

ระยะที่ 4 หรือค่า eGFR น้อยกว่า 30% เราจะต้องเริ่มคุยกันเรื่องการทำบำบัดทดแทนไต เพราะการฟอกไตไม่ว่าจะฟอกเลือดด้วยเครื่องฟอกไตเทียม การฟอกไตทางหน้าท้อง หรือการปลูกถ่ายไต

ระยะที่ 5 เมื่อ eGFR น้อยกว่า 15% แพทย์จะเริ่มการบำบัดทดแทนไต ตามที่ได้ปรึกษากันแล้วก่อนหน้านี้ โดยเริ่มการบำบัดทดแทนไตในเวลาที่เหมาะสม

การรักษาโรคไตเรื้อรัง

รูปแบบของการรักษาโรคไตเรื้อรังขึ้นอยู่กับระยะของโรคและปัญหาด้านสุขภาพอื่นๆ ซึ่งแพทย์จะแนะนำให้ปฏิบัติตัวดังต่อไปนี้

  • ควบคุมความดันโลหิต
  • ควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
  • ควบคุมการรับประทานอาหารอย่างเคร่งครัด
  • รักษาภาวะโลหิตจาง
  • ป้องกันโรคเกี่ยวกับกระดูก
  • ออกกำลังกาย โดยต้องรับการพิจารณาจากแพทย์แล้วเท่านั้น
  • ป้องกันโรคหัวใจ ซึ่งหมายรวมถึงการรักษาโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง และภาวะโลหิตจาง และลดระดับคอเลสเตอรอลด้วยหากว่าสูงเกินไป
  • หยุดสูบบุหรี่ หากยังสูบบุหรี่ ควรหยุดสูบ เนื่องจากการสูบบุหรี่ทำให้โรคหัวใจและโรคไตแย่ลง
  • เลิกรับประทานยาสมุนไพร
  • พบแพทย์เป็นประจำ เพื่อทำการตรวจการทำงานของไต

ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3

Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3

LINE O/A : https://page.line.me/947ptrfh

YouTube : https://shorturl.asia/qjUJc

TikTok : https://shorturl.asia/dP5Z0

Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.