สัญญาณเตือน อาการปวดศีรษะที่ไม่ควรมองข้าม
อาการปวดศีรษะ เป็นโรคยอดฮิตของทุกเพศทุกวัย โดยอาการปวดศีรษะส่วนใหญ่ที่พบได้บ่อยมักเป็นชนิดไม่รุนแรง สามารถรักษาได้ด้วยการดูแลตัวเอง หรือรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการ แต่ในบางกรณี อาจเกิดจากเนื้องอกในสมอง หรือโรคร้ายแรงอื่น ๆ ดังนั้นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ คือ อาการปวดแบบไหนเป็นชนิดไม่รุนแรง และอาการปวดแบบไหนเป็นอันตรายควรรีบพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาอย่างทันท่วงที
ปวดหัวแบบไหนควรไปพบแพทย์ ?
โดยทั่วไปอาการปวดหัวของกลุ่มที่มีรอยโรคในสมองมักมีลักษณะที่แตกต่างกับกลุ่มไม่มีรอยโรค ซึ่งจะมีอาการปวดดังนี้
- อาการปวดเด่นช่วงเช้าหลังตื่นนอน
- อาการปวดที่ทำให้ต้องตื่นกลางดึก
- อาการปวดที่แรง และถี่มากขึ้นเรื่อย ๆ
- อาการปวดที่เริ่มครั้งแรกหลังอายุ 50 ปี
- อาการปวดที่ปวดมากขึ้นเวลา ไอ จามหรือเบ่ง
- อาการปวดที่ปวดขึ้นมาทันทีทันใด (ไม่ใช่ค่อย ๆ แรงขึ้น) และแรงเหมือนศีรษะจะระเบิด
- มีอาการความผิดปกติของระบบประสาทอื่นร่วมด้วย เช่น ปากเบี้ยว แขนขาชาหรืออ่อนแรง มองเห็นภาพซ้อน
- อาการปวดในคนที่มีโรคประจำตัวบางอย่าง เช่น มะเร็ง หรือ การติดเชื้อ เอชไอวี
ดังนั้น หากมีอาการปวดหัวตามลักษณะข้างต้น ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจวินิจฉัยหาสาเหตุของอาการดังกล่าว ซึ่งการตรวจวินิจฉัยจะขึ้นอยู่กับประวัติลักษณะการปวดหัวของผู้ป่วยแต่ละคน สามารถทำได้โดยการตรวจร่างกายทางระบบประสาท และอาจใช้การเอกซเรย์สมองคอมพิวเตอร์ (CT scan) หรือการตรวจสมองด้วยคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า (MRI) เพื่อช่วยให้การวินิจฉัยมีความแม่นยำขึ้น
24/7 เพราะ “คุณ” คือ คนสำคัญ เราจึงพร้อมใส่ใจดูแลคุณในทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
ศูนย์อายุรกรรม Internal Medicine Center
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE O/A : https://page.line.me/947ptrfh
YouTube : https://shorturl.asia/qjUJc
TikTok : https://shorturl.asia/dP5Z0