ตำแหน่งของอาการปวดท้อง บอกโรคได้
อาการปวดท้อง ที่หลายคนคุ้นชินกันเป็นอย่างดี แต่รู้หรือไม่ว่า..ตำแหน่งของการปวดท้องสามารถบ่งบอกถึงโรคและอาการผิดปกติของแต่ละอวัยวะได้ มาดูกันว่าตำแหน่งปวดท้องส่วนไหนบอกถึงโรคได้บ้าง
- ปวดใต้ลิ้นปี่ : กระเพาะอาหาร ตับอ่อน ตับ
มีอาการปวดเวลาหิวหรืออิ่ม อาจเป็นโรคกระเพาะอาหาร กระเพาะอาหารอักเสบ ปวดรุนแรง และคลื่นไส้อาเจียน อาจเป็นโรคตับอ่อนอักเสบ
- ปวดชายโครงซ้าย : ม้าม ตับอ่อน ไต
อาการปวดบริเวณนี้ อาจเป็นเพราะม้ามแตก กรวยไตซ้ายอักเสบ หรือนิ่วในไตซ้าย
- ปวดชายโครงขวา : ตับ ถุงน้ำดี ไต
หากมีอาการตัวเหลือง ตาเหลือง อาจเป็นโรคตับอักเสบ กรวยไตขวาอักเสบ นิ่วในถุงน้ำดี
- ปวดรอบสะดือ : ลำไส้เล็ก
ปวดแบบมีลมในท้อง เป็นอาการท้องเดิน แต่หากปวดรุนแรงทนไม่ได้ อาจเป็นอาการลำไส้อักเสบ หรือไส้ติ่งอักเสบ
- ปวดปั้นเอวขวา : ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ ปวดเอวด้านหลัง
รวมถึงมีอาการร่วมคือ รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ มีไข้ หากเคาะเบาๆ ตรงส่วนเอวด้านหลังก็ทำให้เจ็บมากได้
- ปวดปั้นเอวซ้าย : ท่อไต ไต ลำไส้ใหญ่ ปวดเอวด้านหลัง
รวมถึงมีอาการร่วมคือ รู้สึกแสบเวลาปัสสาวะ มีไข้ หากเคาะเบาๆ ตรงส่วนเอวด้านหลังก็ทำให้เจ็บมากได้
- ปวดเหนือหัวหน่าว : กระเพาะปัสสาวะ มดลูก
ปวดเวลาปัสสาวะ ปัสสาวะกะปริบกะปรอย อาจเป็นกระเพาะปัสสาวะอักเสบ หรือนิ่วในกระเพาะปัสสาวะ ปวดเกร็งช่วงมีรอบเดือน ปวดเรื้อรัง หรือคลำพบก้อน ควรพบแพทย์เฉพาะทาง อาจเป็นอาการของมดลูกอักเสบ หรือเนื้องอกมดลูก
- ปวดท้องน้อยซ้าย : ท่อไต ปีกมดลูกด้านซ้าย
ปวดเกร็ง และร้าวมาที่ต้นขา อาจเป็นนิ่วในท่อไต หรืออาการปวดมีไข้ร่วมด้วย หนาวสั่น มีตกขาว อาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ
- ปวดท้องน้อยขวา : ไส้ติ่ง ท่อไต ปีกมดลูกด้านขวา
หากปวดเกร็งเป็นระยะ ๆ แล้วร้าวมาที่ต้นขา หมายถึงกรวยไตมีความผิดปกติ ปวดเสียด ๆ กดแล้วเจ็บ อาจเป็นไส้ติ่งอักเสบ หรืออาการปวดมีไข้ร่วมด้วยอาจเป็นปีกมดลูกอักเสบ หรือหากคลำแล้วเจอก้อนเนื้อ เบื้องต้นอาจเป็นก้อนไส้ติ่งหรือรังไข่ผิดปกติ
อาการร่วมที่จะต้องมาพบแพทย์ ที่ไม่ใช่แค่ ปวดท้อง
- ปวด นานมากกว่า 6 ชั่วโมงแล้วอาการเป็นมากขึ้น
- ปวดจนรับประทานอาหารไม่ได้
- ปวดท้องและอาเจียนอย่างมาก มากกว่า 3-4 ครั้ง
- ปวดท้องมากขึ้นเมื่อขยับตัว
- ปวดที่บริเวณท้องน้อยด้านขวา
- ปวดท้องรุนแรง นอนไม่ได้
- ปวดร่วมกับเลือดออกจากช่องคลอด
- ปวดท้องและมีไข้ร่วมด้วย
ตำแหน่งที่ปวดท้อง สามารถบอกโรคได้จริง แต่ถึงอย่างไร ก็ไม่อาจทราบได้แน่ชัด จึงควรเข้ารับการวินิจฉัยจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ เพื่อให้ทราบถึงสาเหตุ และหาทางรักษาต่อไป
ขอบคุณที่มาข้อมูล : นพ. วันชัย ลาพ้น และ นพ. ธนพันธ์ ธิติวิเชียรเลิศ แพทย์ประจำศูนย์อายุรกรรม โรงพยาบาลบางปะกอก 3
ติดตามช่องทางออนไลน์อื่น ๆ ของโรงพยาบาลบางปะกอก 3
Facebook : https://www.facebook.com/bangpakok3
LINE O/A : https://page.line.me/947ptrfh
YouTube : https://shorturl.asia/qjUJc
TikTok : https://shorturl.asia/dP5Z0