Bangpakok Hospital

ปวดหลังแบบไหน . . มาจากอะไร?

10 มิ.ย. 2563

 

อาการปวดหลัง นับเป็นปัญหากวนใจของใครหลาย ๆ คน โดยเฉพาะในกลุ่มคนวัยทำงานและผู้สูงอายุ

คนส่วนใหญ่มักจะมาพบแพทย์ก็ต่อเมื่อปวดจนทนไม่ไหว  จนอาจทำให้อาการปวดหลังกลายเป็นโรคเรื้อรังได้

ในวันนี้เราจึงมีข้อมูลดี ๆ เกี่ยวกับอาการปวดหลังมาฝากกันค่ะ

มาเช็กกันดู. . . ว่าจริง ๆ เราปวดหลังกันด้วยสาเหตุใด

ปวดหลังแบบไหน? อาการมาจากอะไร?

  1. ปวดล้า ๆ เมื่อย ๆ มีจุดที่กดแล้วปวดมากขึ้น สาเหตุอาจเกิดจากกล้ามเนื้อ
  2. ปวดหลังเยื้องออกมาด้านข้าง อาจจะเป็นจากกล้ามเนื้อหลัง
  3. ปวดหลังแบบมีอาการชา หรืออาการอ่อนแรง อาจเกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท หรือเส้นประสาท
  4. ปวดร้าวเหมือนไฟฟ้าช็อต อาจเกิดจากเส้นประสาทถูกกดเบียด
  5. ปวดตรงแนวกระดูกกลางหลัง อาจเสี่ยงหมอนรองกระดูกสันหลัง หรือเอ็นยึดระหว่างกระดูกสันหลัง
  6. ปวดหลัง หลลังจากยกของหนัก อาจเกิดจากกล้ามเนื้ออักเสบ

แนวทางการรักษาด้วยวิธีทางกายภาพบำบัด

การยืดกล้ามเนื้อ

การออกกำลังกาย

การลดปวดด้วยเครื่องมือกายภาพบำบัด

10 วิธีถนอมกระดูกสันหลัง

  1. การนั่งไขว่ห้าง ทำให้น้ำหนักตัวลงที่ด้านข้างใดข้างหนึ่ง ทำให้กระดูกสันหลังคด
  2. การนั่งกอดอก ทำให้หลังช่วงบน สะบัก และหัวไหล่ ถูกยืดยาวออก หลังช่วงบนค่อมและงุ้มไปด้านหน้า ทำให้กระดูกคอยื่นไปข้างหน้า มีผลต่อเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงแขน อาจทำให้มืออ่อนแรงหรือชาได้
  3. การนั่งหลังงอ หลังค่อม ติดต่อกันนานๆ เป็นชั่วโมง ทำให้กล้ามเนื้อเกร็งค้างเกิดการคั่งของกรดแลกติค มีอาการเมื่อยล้าปวดกระดูกผิดรูปตามมา
  4. การนั่งเบาะเก้าอี้ไม่เต็มก้น ทำให้กล้ามเนื้อหลังต้องทำงานหนัก เพราะฐานในการรับน้ำหนักตัวแคบ
  5. การยืนพักขาลงน้ำหนักด้วยขาข้างเดียว การยืนที่ถูกต้องควรลงน้ำหนักที่ขาทั้ง สองข้างเท่าๆ กัน โดยยืนให้ขากว้างเท่าสะโพก จะทำให้เกิดความสมดุลของโครงสร้างร่างกาย
  6. การยืนแอ่นพุง/หลังค่อม ควรยืนหลังตรง แขม่วท้องเล็กน้อย เพื่อเป็นการรักษาแนวกระดูกสันหลังช่วงล่างไม่ให้แอ่นและทำให้ไม่ปวดหลัง
  7. การใส่ส้นสูงเกิน 1 นิ้วครึ่ง จะทำให้แนวกระดูกสันหลังช่วงล่างแอ่นมากกว่าปกติ ซึ่งจะนำมาสู่อาการปวดหลัง
  8. การสะพายกระเป๋าหนักข้างเดียว ไม่ควรสะพายกระเป๋าข้างใดข้างหนึ่งต่อเนื่องกันเป็นเวลานาน ควรเปลี่ยนเป็นการถือกระเป๋า โดยใช้ร่างกายทั้ง 2 ข้างให้เท่าๆ กัน อย่าใช้แค่ข้างใดข้างหนึ่งตลอด เพราะจะทำให้ต้องทำงานหนักอยู่เพียงซีกเดียว ส่งผลให้กระดูกสันหลังคดได้
  9. การหิ้วของหนักด้วยนิ้วบ่อยๆ จะมีผลทำให้มีพังผืดยึดตามข้อนิ้วมือ
  10. การนอนขดตัว/นอนตัวเอียง ท่านอนหงาย ควรนอนให้ศีรษะอยู่ในแนวระนาบ หมอนหนุนศีรษะต้องไม่แข็งหรือนิ่มเกินไป ควรมีหมอนรองใต้เข่าเพื่อลดความแอ่นของกระดูกสันหลังช่วงล่าง



แผนกกายภาพบำบัด

วันเวลาทำการ

เปิดทุกวันจันทร์ – วันศุกร์  เวลา 09:00 - 17:00 น.

ติดต่อสอบถาม

โทรศัพท์ : 0-2109-3111 ต่อ 1332


Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.