เมนูดิบ . . กินอย่างไรไม่ให้เสี่ยง
อาหารดิบ . . เป็นเมนูเด็ดที่ดีต่อใจของใครหลาย ๆ คน เพราะความชื่นชอบในรสสัมผัส รสชาติ แม้บางครั้งบางคราวอาจจะไม่ส่งผลดีต่อสุขภาพบ้าง เพราะ อาหารดิบๆ นั้นไม่ได้ผ่านความร้อนซึ่งเป็นขั้นตอนสำคัญที่จะฆ่าเชื้อโรคได้ จึงทำให้เสี่ยงต่อการติดเชื้อได้ง่าย เราจึงไม่ควรกินอาหารดิบบ่อยๆ และต้องเพิ่มความใส่ใจและเลือกกินให้มากขึ้นกว่าเดิม
ในวันนี้ . . เราจึงมีวิธีการเลือกรับประทาน เมนูดิบให้ปลอดภัย ลดเสี่ยงอันตรายมาฝากกันค่ะ
เมนูปลาดิบ
ปลาดิบถูกแบ่งออกเป็น 2 ชนิด คือ ปลาดิบน้ำจืดและปลาดิบน้ำเค็ม โดยปลาสองชนิดนี้ก็มีเชื้อโรคที่ติดมากับเนื้อปลาที่แตกต่างกันไป ปลาดิบน้ำจืดจะมีพยาธิบางชนิดแอบแฝงอยู่ ได้แก่ พยาธิตัวจิ๊ด และพยาธิใบไม้ลำไส้ แต่ในปลาน้ำเค็มก็อาจพบ ตัวอ่อนของพยาธิอะนิซาคิส ผู้ชื่นชอบกินปลาดิบ เสี่ยงเป็นโรคพยาธิเจาะผนังลำไส้
วิธีกินปลาดิบให้ปลอดภัย เลือกชนิดปลา
- เลือกร้านที่สะอาดและเชื่อถือได้
- อุณหภูมิในการเก็บปลา ควรต่ำกว่า -20 องศาเซลเซียส
- กินทันทีหลังทำ ไม่วางปลาไว้ด้านนอกตู้เย็น นานเกิน 1-2 ชั่วโมง เพราะอุณหภูมิห้องจะทำให้ เชื้อแบคทีเรียเจริญเติบโตเร็วขึ้น
เมนูส้มตำปูม้า
เชื้อก่อโรคที่อาจปนเปื้อนมากับปูม้าสด เช่น เชื้อวิบริโอ พาราฮีโมไลติคัส เชื้อชนิดนี้มักพบในสัตว์ทะเล เช่น กุ้ง หอย ปู จะทำให้เกิดโรคลำไส้อักเสบ มีอาการท้องเสีย
ถ่ายเหลว คลื่นไส้ อาเจียน ปวดหัว หนาวสั่น มีไข้ต่ำ
วิธีป้องกันอันตรายดีที่สุด
คือ นำอาหารทะเลมาปรุงให้สุกก่อนทานทุกครั้ง
เมนูไข่
เชื้อแบคทีเรียที่พบได้บ่อยในไข่ดิบ คือ เชื้อซาลโมเนลลาซึ่งเป็นเชื้อก่อความผิดปกติในระบบทางเดินอาหารทำให้เกิดอาการท้องเสีย คลื่นไส้หรือหากได้รับเชื้อมากก็อาจมีอาการอาหารเป็นพิษได้ นอกจากนี้ในไข่ขาวดิบจะมี "อะวิดิน" ซึ่งเป็นตัวขัดขวางการดูดซึมอาหาร โดยเฉพาะการดูดซึมไบโอตินและโปรตีน และหากเป็นเมนูไข่ดิบดองซีิอิ๊วหรือน้ำปลาจะยิ่งเสี่ยงอันตรายคูณสอง เพราะร่างกายอาจได้รับโซเดียมมากเกินไป
กินไข่แบบไหนปลอดภัย
- ไข่ที่ผ่านการปรุงสุกในระดับหนึ่ง ซึ่งหากไข่ลวก หรือไข่ยางมะตูม (คือเปลี่ยนจากวุ้นใส ๆ มาเป็นเนื้อไข่ขาวขุ่น) ก็ถือว่าไม่อันตราย เพราะเชื้อ
แบคทีเรียมักจะอาศัยอยู่ในบริเวณไข่ขาว การที่ไข่ขาวสุกก็ถือเป็นการสลายสิ่งที่ไม่พึประสงค์ออกไปได้
ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3