ซึมเศร้า . . แค่ไหน ? เรียกว่าโรคซึมเศร้า
ซึมเศร้า . . แค่ไหน ? เรียกว่าโรคซึมเศร้า
โรคซึมเศร้า เป็นโรคทางจิตเวชด้านความผิดปกติทางอารมณ์ที่ พบได้
สาเหตุหลัก เกิดจากความผิดปกติของสารเคมีในสมอง
สาเหตุอื่น ๆ พันธุกรรม สารเสพติด ความเครียด การสูญเสียคนรัก ความผิดหวัง
อาการหลัก
- อารมณ์เศร้า ท้อแท้ ซึม หงอย ทั้งที่ตัวเองรู้สึกหรือคนอื่นก็สังเกตเห็น
- เบื่อ ไม่มีความสุขกับกิจกรรมที่เคยทำ
อาการร่วมอื่น ๆ
- การกิน เบื่ออาหารหรือเจริญอาหารมากเกินไป
- การนอน นอนไม่หลับ หรือนอนเยอะเกินไป
- พฤติกรรม เชื่องช้าลงหรือกระวนกระวาย
- ร่างกาย อ่อนเพลีย ไร้เรี่ยวแรง
- ใจลอย ไม่มีสมาธิ ตัดสินใจอะไรไม่ได้
- ตำหนิตัวเองหรือมองตัวเองเป็นคนไร้ค่า
- คิดเรื่องการตาย
ทำอย่างไร เมื่อเป็นโรคซึมเศร้า
1. รีบพบจิตแพทย์ เพื่อเข้ารับการดูแลและรักษาอย่างถูกวิธี จะทำให้อาการดีขึ้นอย่างรวดเร็วและหายขาด
2. กินยาต้านเศร้า กินยาอย่างต่อเนื่องอย่างน้อย 6-9 เดือน หรือตามแพทย์สั่ง ห้ามหยุดยาเองโดยเด็ดขาด
3. ไม่ใช้สารเสพติด ไม่ดื่มสุรา หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มชูกำลังและเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน เช่น ชา กาแฟ
4 .ดูแลตัวเอง ไม่อดนอน ควรนอนอย่างน้อยวันละ 6 – 8 ชั่วโมง ไม่อดอาหาร ควรทานอาหารให้ครบทุกมื้อ ไม่เครียด ควรหาวิธีระบายความเครียด
ออกกำลังกายสม่ำเสมอ 10 – 30 นาที ต่อวัน / สัปดาห์ละ 3 วัน / วันเว้นวัน
5. หาความรู้ ญาติและคนใกล้ชิดควรศึกษาหาความรู้เกี่ยวกับโรคซึมเศร้า เพื่อสร้างความเข้าใจให้มากขึ้น
6 .ดูแลใกล้ชิด
หากพบว่ามีการพูดเกี่ยวกับ “อยากตาย” “ไม่อยากมีชีวิตอยู่” ญาติหรือคนใกล้ตัว ต้องหมั่นสังเกตและเก็บสิ่งของที่อาจนำมาทำร้ายตนเองได้ เช่น เชือก ของมีคม ยาฆ่าแมลง เป็นต้น
7. สร้างความเข้าใจ “ซึมเศร้า ไม่ได้แปลว่าอ่อนแอ” และ “ซึมเศร้า รักษาได้”
“เพราะสุขภาพใจเป็นเรื่องสำคัญ”
ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบางปะกอก 3