สิทธิประกันสังคมกับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ
รู้หรือไม่?
ประกันสังคม ให้สิทธิการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ
ผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะได้ เพื่อทำให้ผู้ประกันตนประกันสังคมมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หากโรคดังกล่าวไม่สามารถรักษาด้วยวิธีอื่นได้ โดยผู้ประกันตนต้องมีคุณสมบัติตามข้อบ่งชี้และตามหลักเกณฑ์ตามที่กำหนด จึงสามารถเข้ารับการผ่าตัด โดยได้รับสิทธิการคุ้มครองจากประกันสังคม
และการเข้ารับการใช้สิทธิผู้ประกันตนต้องยื่นขอและได้รับการอนุมัติสิทธิก่อนเข้ารับบริการ ณ สถานพยาบาลในความตกลงตามหลักเกณฑ์ เงื่อนไข และอัตราบริการทางการแพทย์
ปัจจุบันผู้ประกันตนสามารถใช้สิทธิการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะได้ ประกอบด้วย
- การผ่าตัดปลูกถ่ายหัวใจ
- การผ่าตัดปลูกถ่ายปอด
- การผ่าตัดปลูกถ่ายตับ
- การผ่าตัดปลูกถ่ายตับอ่อน
- การผ่าตัดปลูกถ่ายไต
- การผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะมากกว่าหนึ่งอวัยวะพร้อมกัน ได้แก่ หัวใจและปอด หัวใจและปอด, หัวใจและไต, ตับและไต, ตับอ่อนและไต
สำนักงานประกันสังคมจ่ายค่ารักษาทั้งผู้บริจาคอวัยวะ และผู้รับบริจาค ได้รับสิทธิครอบคลุมค่าใช้จ่าย ดังนี้
- ค่าเตรียมการผ่าตัดผู้บริจาคที่สมองตาย ผู้บริจาคที่มีชีวิต และผู้รับบริจาค
- ค่าใช้จ่ายเมื่อเข้ารับการผ่าตัดของผู้รับบริจาค กรณีมีภาวะแทรกซ้อน และกรณีไม่มีภาวะแทรกซ้อน
- ค่าใช้จ่ายหลังการผ่าตัด ไม่ว่าจะเป็นการตรวจรักษา การตรวจทางห้องปฏิบัติการ การตรวจระดับยากดภูมิคุ้มกัน ยากดภูมิคุ้มกัน (ตลอดชีวิต)
เพื่อเป็นการรักษาต่อเนื่องโดยแพทย์เจ้าของไข้และแพทย์สาขาอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องและติดตามการรักษาอย่างใกล้ชิดเป็นเวลา 2 ปี ภายหลังการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะแล้ว ผู้ประกันตนจะได้รับการโอนสิทธิรักษาพยาบาลมายังโรงพยาบาลที่ทำการผ่าตัดดังกล่าว
สำหรับสถานพยาบาลที่เข้าร่วมให้บริการทางการแพทย์กรณีปลูกถ่ายอวัยวะกับสำนักงานประกันสังคม มี 5 แห่ง โดยสถานพยาบาล 3 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลราชวิถี โรงพยาบาลศิริราช โรงพยาบาลรามาธิบดี ให้บริการทางการแพทย์กรณีปลูกถ่ายอวัยวะทั้ง 5 รายการ คือ หัวใจ ปอด ตับ ตับอ่อน
และปลูกถ่ายมากกว่า 1 อวัยวะพร้อมกัน คือหัวใจและปอด หัวใจและไต ตับและไต ตับอ่อนและไต และอีก 2 แห่ง คือ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่
และโรงพยาบาลศรีนครินทร์ ให้บริการทางการแพทย์กรณีปลูกถ่ายตับอย่างเดียว
ด้วยความห่วงใยและใส่ใจจากโรงพยาบาลบาลปะกอก 3
หากมีข้อสงสัย หรือต้องการสอบถามข้อมูลเพิ่มเติม สามารถดูได้ที่ www.sso.go.th และสายด่วนประกันสังคม 1506 ตลอด 24 ชั่วโมง รวมถึงการติดต่อโดยตรง ที่สำนักประกันสังคมพื้นที่/จังหวัด/สาขาทั่วประเทศ
ขอบคุณข้อมูลจาก : สำนักงานประกันสังคม