จัดสรรโภชนาการให้ลูกน้อย ลดความเสี่ยงเรื่องเด็กอ้วน
สาเหตุโรคเด็กอ้วน
โรคเด็กอ้วนเกิดขึ้นได้หลายสาเหตุโดยมาจากทั้งปัยจัยที่เกิดจากภายนอกและภายใน โดยส่วนใหญ่ปัจจัยภายนอกจะเกิดจากการดำเนินชีวิตในยุคปัจจุบันที่เร่งรีบกันมากขึ้น มีพฤติกรรมการบริโภคที่เน้นความสะดวกรวดเร็วเป็นหลัก กินเยอะขึ้น และ ไม่ค่อยออกกำลังกาย ทางด้านปัจจัยภายในส่วนใหญ่จะเกิดจากเรื่องของทางด้านพันธุกรรมที่มีคนในครอบครัวอ้วน หรือเป็นโรคที่เกี่ยวกับฮอร์โมน เช่น Growth hormone deficiency (โรคขาดฮอร์โมนเจริญเติบโต) , Hypothyroid (โรคไทรอยด์ต่ำ) , Cushing syndrome (ภาวะการหลั่งสารเสตียรอยด์ในร่างกายมากผิดปกติ) เป็นต้น
วิธีการสังเกตได้ง่ายๆสำหรับเด็กที่เป็นโรคอ้วน คือ ถ้าลูกน้อยกินเยอะส่วนใหญ่มักจะมีการเจริญเติบโตทางด้านร่างกายควบคู่กันไปด้วย เช่น ความสูงของเด็กจะเพิ่มขึ้นแต่ถ้าอ้วนจากเป็นโรคอย่างอื่น มักจะเตี้ย หรือมีความผิดปกติอื่นให้เห็นร่วมด้วย หากคุณพ่อคุณแม่ไม่แน่ใจว่าบุตรหลานเป็นโรคอ้วนหรือไม่ และ เกิดจากสาเหตุอะไร ลองขอรับคำปรึกษาและแนะนำจากแพทย์เพื่อให้การวินิจฉัยและแนะนำรักษาได้อย่างถูกวิธี
ความเสี่ยงและภาวะแทรกซ้อนของเด็กอ้วนเกิดขึ้นได้ทุกในระบบของร่างกาย
- ด้านระบบประสาทและสมอง ทำให้มีอาการปวดศีรษะ ความดันในสมองสูง ตาอาจพร่ามัว
- ด้านระบบทางเดินอาหาร ทำให้มีไขมันไปเกาะตับ เกิดตับอักเสบ จนถึงตับวายได้
- ด้านระบบทางเดินหายใจ มีอาการนอนกรน ถ้าเป็นมากอาจมีภาวะหยุดหายใจ ซึ่งอันตรายต้องรีบเข้ารับการรักษา
- ด้านระบบหลอดเลือด ทำให้เกิดความดัน และมีไขมันในเลือดสูง เสี่ยงต่อภาวะโรคหัวใจ
- ด้านระบบต่อมไร้ท่อ ทำให้เกิดโรคเบาหวาน
- ด้านผิวหนัง พบมีการติดเชื้อราตามข้อพับต่างๆ ได้ง่ายเนื่องจากมีความชื้นสะสมในบริเวณดังกล่าว
- ด้านปัญหาสุขภาพจิต มักไม่มั่นใจในตัวเองเวลาเข้าสังคม และอาจมีภาวะซึมเศร้า
- ด้านกระดูก มีอาการมีปวดขาและขาอาจโก่งได้ เนื่องจากการรับน้ำหนักของร่างกาย
คำแนะนำเบื้องต้นในการดูแล “มื้ออาหาร” ของลูกน้อย
- ห้ามให้เด็กๆกินขนมตามใจชอบ เช่น ขนมกรุบกรอบ น้ำหวาน น้ำอัดลม อาหารจานด่วน ที่มีคุณค่าทางอาหารไม่มากแต่ให้พลังงานสูง ทำให้เด็กเสี่ยงเป็นโรคอ้วน ขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย
- ควรจัดเตรียมด้านโภชนาการและปรับเปลี่ยนพฤติกรรมของลูก
- ทำเมนูอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ลด หวาน มัน เค็ม และ เพิ่มผักผลไม้ทุกมื้ออาหาร
- ส่งเสริมให้ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ เช่น วิ่ง กระโดดเชือก เต้นแอโรบิค
- เด็กวัยเรียน 6 -12 ปี ควรได้รับพลังงาน 1,600 กิโลแคลอรี คือ ข้าว หรือ แป้ง 8 ทัพพี ,เนื้อสัตว์ 6 ช้อนกินข้าว ,ผัก 12 ช้อนกินข้าว ,ผลไม้ 3 ส่วน เด็กวัยเรียน ต้องการอาหารเพื่อให้มีพลังงานเพียงพอสำหรับการเจริญเติบโต และพัฒนาการของสมอง ปริมาณพลังงานโดยประมาณที่เด็กวัยเรียนควรได้รับใน 1 วัน
#โรงพยาบาลบางปะกอก3 #BPK3 #ดูแลด้วยหัวใจHeartOfCare