Bangpakok Hospital

สูงวัยยังไงให้ดูสดใส ห่างไกลโรคข้อเข้าเสื่อม

18 ก.ย. 2563


ภาวะข้อเข่าเสื่อมพบได้บ่อยในผู้สูงอายุ และ ในประเทศไทยจำนวนประชากรผู้สูงอายุก็มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจนเรียกได้ว่ากำลังจะเข้าสู่ยุคผู้สูงวัย (Aging Society) จากข้อมูลเบื้องต้นพบว่าผู้สูงอายุที่อายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไปจะมีภาวะข้อเข่าเสื่อม ซึ่งผู้ที่มีภาวะข้อเข่าเสื่อมมากๆ จะมีอาการเจ็บหรือปวด มีลักษณะข้อเข่าที่ผิดรูป ข้อเข่าเกิดการฝืดหรือข้อติด จนทำให้เดินได้ไม่เหมือนปกติ ส่งผลให้การทำกิจวัตรประจำวันมีความลำบากมากขึ้น

สาเหตุส่วนใหญ่เกิดจาก

  • มีอายุที่เพิ่มขึ้น รวมไปถึงมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น ส่วนใหญ่ผู้ที่มีอายุ 50ปีขึ้นไปมักจะมีความเสี่ยงเรื่องข้อเข่าเสื่อม
  • มีโรคประจำตัว อาทิ ไข้ข้ออักเสบ , รูมาตอยด์ หรือ โรคเก๊าต์ เป็นต้น
  • เกิดจากพันธุกรรมมาตั้งแต่กำเนิด เช่น ขา หรือ เข่าที่ผิดรูป
  • การเล่นกีฬาหรือการออกกำลังกายที่มีการปะทะบริเวณเข่าบ่อยๆ เช่น ฟุตบอล บาสเกตบอล เป็นต้น
  • มีพฤติกรรมเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อข้อเข่า เช่น การนั่งยองๆ หรือ นั่งพับเพียบบ่อยๆนานๆ รวมไปถึงการใส่รองเท้าส้นสูงเป็นชีวิตประจำวัน
  • ประสบอุบัติเหตุที่มีการกระทบกระเทือนบริเวณเข่า

ลักษณะของอาการบ่งบอกที่สำคัญ

  • เข่าผิดรูป มีลักษณะโก่งออก และโค้งเข้าใน
  • ออกอิริยาบถในการงอเข่าได้ไม่เต็มที่ และ รู้สึกติดขัดหรือลำบากเวลาเหยียดเข่า
  • รู้สึกปวดเข่ามาก จนเคลื่อนไหวลำบาก บางครั้งอาจได้ยินเสียงก๊อกแก๊กเวลาขยับเข่า
  • ทานยา และ ทำการกายภาพแล้วอาการยังไม่ดีขึ้น

จะดูแลรักษาอย่างไรเพื่อลดอาการข้อเข้าเสื่อม

  • ทำจิตใจให้แจ่มใส สดชื่น
  • พยายามควบคุมน้ำหนักตัวและดูแลเรื่องโภชนาการอาหารการกิน
  • หลีกเลี่ยงออกกำลังกายที่เสี่ยงต่อการกระแทกบริเวณข้อเข่า เช่น ว่ายน้ำ, ขี่จักรยาน, เดินหรือวิ่งจ๊อกกิ้ง
  • หลีกเลี่ยงการทานยาแก้ปวดหรือยาแก้อักเสบ ประเภทสเตียรอยด์
  • มีการบริหารกล้ามเนื้อต้นขา หรือ ทำกายภาพอย่างสม่ำเสมอ
  • ลดและปรับพฤติกรรมที่ก่อให้เกิดอันตรายกับข้อเข่า
  • การฉีดยาเพื่อลดอาการของข้อเข่า
  • ท้ายสุดหากอาการไม่ดีขึ้นการผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกในการรักษา

ท่าบริหารช่วยห่างไกลข้อเข่าเสื่อม

  • ผู้สูงอายุเสริมสร้างความแข็งแรงของกล้ามเนื้อหน้าขาและกล้ามเนื้อหัวเข่า ช่วยชะลอการเสื่อมของเข่าได้
  • นั่งหลังชิดพนักเก้าอี้ เหยียดเข่าตรง เกร็งค้างไว้พยายามนับ 1-10 แล้ววางขาลง ทำสลับข้างกัน ข้างละประมาณ 20 ครั้ง
  • นั่งหลังชิดพนักเก้าอี้ ไขว้ขาให้ขาบนกดลงไปที่ขาล่างและขาล่างเหยียดขึ้นด้านบนเกร็งขาทั้ง 2 ข้าง ค้างไว้นับ 1-10 ทำสลับกันทั้ง 2 ข้าง ข้างละประมาณ 20 ครั้ง
  • นอนหงาย และยกกระดกปลายเท้าขึ้น-ลง เกร็งค้างไว้นับ1-10 โดยทำสลับข้างกันข้างละประมาณ 20 ครั้ง
  • นอนหงาย และเอาหมอนเล็กๆมารองวางใต้เข่า ทำการเกร็งหัวเข่าเหยียดเข่าให้ตึงนับ 1-10 แล้ววางขาลง ทำสลับกันข้างละประมาณ 20 ครั้ง
 
Go to top
Copyright © 2019 Bangpakok Hospital All rights reserved.